วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิเคราะห์รายการค้า

รูปแบบของธุรกิจ
  รูปแบบของกิจการค้าแต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพการลงทุนในกิจการ  ลักษณะการจัดตั้ง  การดำเนินงาน  และความสำคัญทางเศรษฐกิจ สามารถแบ่งได้ดังนี้
        1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single  Proprietorship)  ได้แก่  กิจการขนาดเล็กที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของ  เช่น  ร้านค้าย่อย   การจัดตั้งทำได้ง่าย  แต่การขยายกิจการทำได้ยากเพราะมีเงินทุนจำกัด
        2. ห้างหุ้นส่วน  (Partnership)  คือ  กิจการทีมีบุคคลตั้งแต่  2  คนขึ้นไปร่วมกันเป็นเจ้าของโดยมีสัญญาตกลงรวมทุนกันเป็นหุ้นส่วนประกอบการค้าเพื่อหวังกำไร  โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจะมีทุนเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ห้างหุ้นส่วนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
                2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ  (Ordinary  Partnership)  คือ  ห้างหุ้นส่วนประเภทที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวน  ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ได้หรือไม่จดทะเบียนก็ได้
                2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด  (Limited  Partnership)    คือ  ห้างหุ้นส่วนที่ประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน  2  จำพวก  คือจำพวกจำกัดความรับผิดชอบ  และไม่จำกัดความรับผิดชอบ และ กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
        3. บริษัทจำกัด  (Company  Limited or Corporation)  คือ กิจการที่ตั้งขึ้นในรูปของนิติบุคคลด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ  กัน  ผู้ที่ลงทุนซื้อหุ้นของกิจการเรียกว่า  “ผู้ถือหุ้น”  ผู้ถือหุ้นจะได้รับส่วนแบ่งกำไรเป็นเงินปันผล (Dividends)   บริษัทจำกัดแบ่งเป็น  2  ประเภท
                3.1 บริษัทเอกชน จำกัด  (Private Company Limited)  มีจำนวนผู้ถือหุ้นตั้งแต่เจ็ดคนขึ้นไป  (ป.พ.พ. มาตรา  1097)
                3.2 บริษัทมหาชน จำกัด (Public Company Limited)  มีจำนวนผู้ถือหุ้นตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป (พ.ร.บ. บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535  มาตรา  16)
 desk_red.gif

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น