วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การคำนวณค่าเสื่อมราคา

การคำนวนค่าเสื่อมราคามูลค่าทรัพย์สิน
อัตราค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน
(ตามรายละเอียด ของ กรมบัญชีกลางที่กำหนดไว้ในหลักการและนโยบายบัญชีภาครัฐฉบับที่ 1)

ตารางอายุการใช้งานและอัตราค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน


อายุการใช้งาน(ปี)
อัตราค่าเสื่อมราคา/ปี
ประเภททรัพย์สิน


ร้อยละ

อย่างต่ำ
อย่างสูง
อย่างต่ำ
อย่างสูง
 1. อาคารถาวร
15
40
2.5
6.5
 2. อาคารชั่วคราว/โรงเรือน
8
15
6.5
12.5
 3. สิ่งก่อสร้าง




    3.1 ใช้คอนกรีตเสริมเหล็กหรือโครงเหล็ก
15
25
4
6.5
         เป็นส่วนประกอบ




    3.2 ใช้ไม้หรือวัสดุอื่นๆเป็นส่วนประกอบหลัก
5
15
6.5
20
 4. ครุภัณฑ์สำนักงาน
8
12
8.5
12.5
 5. ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง
5
8
12.5
20
 6. ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ(ยกเว้นเครื่อง
5
10
10
20
     กำเนิดไฟฟ้าให้มีอายุการใช้งาน 15-20ปี)




 7. ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่
5
10
10
20
 8. ครุภัณฑ์การเกษตร




     8.1 เครื่องมือและอุปกรณ์
2
5
20
50
     8.2 เครื่องจักรกล
5
8
12.5
20
 9. ครุภัณฑ์โรงงาน




     9.1 เครื่องมือและอุปกรณ์
2
5
20
50
     9.2 เครื่องจักรกล
5
8
12.5
20
 10. ครุภัณฑ์ก่อสร้าง




     10.1 เครื่องมือและอุปกรณ์
2
5
20
50
     10.2 เครื่องจักรกล
5
8
12.5
20
 11. ครุภัณฑ์สำรวจ
8
10
10
12.5
 12. ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์และการแพทย์
5
8
12.5
20
 13. ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์
3
5
20
33






หมายเหตุ :
-          อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่นำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน ให้ตีราคาโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนทั้งในส่วนที่มีกรรมสิทธิ์และไม่มีกรรมสิทธิ์
-          ทรัพย์สินรายการใดที่หมดอายุการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ไม่ต้องตีราคาทรัพย์สินแต่ต้องสำรวจตรวจนับและบันทึกในทะเบียนคุมทรัพย์สินให้ครบถ้วนทุกรายการ
-          อัตราค่าเสื่อมราคามูลค่าทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยให้ใช้อัตราค่าเสื่อมอย่างสูง

วิธีการตีราคาทรัพย์สิน

                   การตีราคาทรัพย์สินเพื่อให้ได้มูลค่าสุทธิของทรัพย์สินที่จะใช้ในการบันทึกบัญชีสินทรัพย์ตามหลักบัญชีเกณฑ์คงค้างที่กระทรวงการคลังจะได้มีการปรับเปลี่ยนในระยะต่อไปนั้น จะดำเนินการได้เมื่อทรัพย์สินนั้นมีข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญเพื่อประโยชน์ในการตีราคาครบถ้วน โดยเฉพาะ วัน เดือน ปี ที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาและราคาทุนของทรัพย์สิน
                   ขั้นตอนการตีราคาทรัพย์สินเป็นดังนี้
1.      ราคาทรัพย์สินต่อหน่วยหรือต่อชุดหรือต่อกลุ่มต้องมีราคาไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท
2.      ให้หัวหน้าส่วนราชการกำหนดอายุการใช้งานละอัตราเสื่อมราคาตามจำนวนปีที่ค่ดว่าจะใช้งานทรัพย์สินนั้นอย่างมีประสิทธิภาพไม่สูงหรือต่ำกว่าตารางอายุการใช้งานที่กำหนดไว้ในหลักการและนโยบายบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 1
3.      พิจารณาราคาทุนและระยะเวลาที่ได้มาของทรัพย์สินที่ได้สำรวจไว้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และ 2 ดังนี้
3.1   กรณีราคาทุนของทรัพย์สินไม่ถึง 30,000 บาท หรือหมดอายุการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ไม่ต้องตีราคาทรัพย์สินดังกล่าว แต่ให้บันทึกรายละเอียดข้อมูลของทรัพย์สินนั้นในแบบทะเบียนคุมทรัพย์สินที่กำหนดใหม่แทนทะเบียนคุมครุภัณฑ์เดิม
3.2   กรณีทรัพย์สินมีราคาทุนทรัพย์สินสูงกว่าหรือเท่ากับ 30,000 บาท และยังมีอายุการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพเหลืออยู่ ให้ดำเนินการดังนี้
3.2.1        คำนวนค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินนั้นด้วยวิธีเส้นตรง ตามสูตรการคำนวนดังนี้
          ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน/ปี  =   _____ราคาทุนของทรัพย์สิน______       
                                                อายุการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ


3.2.2        คำนวนค่าเสื่อมราคาสะสมดังนี้
ค่าเสื่อมราคาสะสม  =  ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน/ปี X อายุการใช้งานที่
                             ผ่านมาจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
3.2.3        คำนวนหามูลค่าสุทธิดังนี้
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ  = ราคาทุน ค่าเสื่อมราคาสะสม
                   4.    พิจารณาราคาสุทธิของทรัพย์สินที่ได้ว่าต่ำกว่า 30,000 บาทหรือไม่ ถ้าต่ำกว่า ทรัพย์สินรายการดังกล่าวไม่ต้องบันทึกเป็นบัญชีทรัพย์สินในระบบบัญชีที่จะปรับเปลี่ยนเป็นเกณฑ์คงค่ง แต่ต้องบันทึกรายละเอียดข้อมูลของทรัพย์สินในทะเบียนคุมทรัพย์สินตามแบบที่กำหนดใหม่แทนรูปแบบเดิม
5.       ทรัพย์สินประเภทที่ดินซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ ไม่ต้องตีราคา
6.       ตัวอย่างการตีราคาดังนี้

ตัวอย่างการตีราคาทรัพย์สิน

ข้อมูลในทะเบียนคุมครุภัณฑ์ระบุรายการระบบเครื่องเสียงมูลค่า 55,000 บาท ซื้อมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2540 หัวหน้าส่วนราชการกำหนดอายุการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ 10 ปี
ขั้นตอนการดำเนินการเป็นดังนี้
1.  ราคาทุนของระบบเครื่องขยายเสียง 55,000 บาท เกินเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ 30,000 บาท รายการดังกล่าวจึงต้องมีการตีราคาทรัพย์สิน
2.  อายุการใช้งานตั้งแต่ 10 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 เป็นระยะเวลา 3 ปี 9 เดือน ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ (การคำนวนอายุการใช้งานของสินทรัพย์ที่ได้รับในระหว่างเดือนให้ถือเสมือนหนึ่งว่าได้สินทรัพย์นั้นมาตั้งแต่ต้นเดือน)
3.      คำนวนค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินด้วยวิธีเส้นตรงเป็นดังนี้
ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์/ปี         =  _____ราคาทุนของทรัพย์สิน______
                                                 อายุการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
                                            =   55,000
                                                    10
                                            =   5,500  บาท/ปี
    ค่าเสื่อมราคา 3 ปี 9 เดือน        =   5,500 x 3 + (5,000 x 9 / 12)
                                            =   20,625  บาท
    มูลค่าสุทธิของทรัพย์สิน           =   55,000 – 20,625
                                            =   34,375  บาท
4.  บันทึกรายละเอียดข้อมูลของระบบเครื่องเสียงในทะเบียนคุมทรัพย์สินตามรูปแบบที่กำหนด       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น